วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 1 เกาะหมาก(ปีนัง) เสียให้กับประเทศอังกฤษ เมื่อ 11 สิงหาคม 2329 พื้นที่ 375 ตร.กม. ในสมัย ร.1 เกิดจาก พระยาไทรบุรี ให้อังกฤษเช่าเกาะหมากเพื่อหวังจะขอให้อังกฤษคุ้มครองเกาะหมากจากกองทัพ ของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งยกทัพมาจัดระเบียบหัวเมืองปักษ์ใต้ ในที่สุดอังกฤษก็ยึดเอาไป

ครั้งที่ 2 มะริด ทวาย ตะนาวศรี ให้กับพม่า เมื่อ 16 มกราคม 2336 พื้นที่ 55,000 ตร.กม. ในสมัย ร.1 แต่เดิมเป็นของไทยครั้งสมัยสุโขทัย มังสัจจา เจ้าเมืองทวายเป็นไส้ศึกให้พม่า รัชกาลที่ 1 ไม่สามารถตีคืนจากพม่าได้ ประกอบกับชาวเมืองทวายไม่พอใจกองทัพไทยที่เข้ายึดครอง จึงตกเป็นของพม่าไป

ครั้งที่ 3 บันทายมาศ(ฮาเตียน) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.2336 ในสมัยรัชกาลที่ 2


ครั้งที่ 4 แสนหวี เมืองพง เชียงตุง ให้กับพม่าเมื่อ พ.ศ.2368 พื้นที่ 62,000 ตร.กม.ในสมัย รัชกาลที่ 3    แต่เดิมเราได้ดินแดนนี้มาในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยพระเจ้ากาวิละ ยกทัพไปตีมาขึ้นอยู่กับไทยได้ 20 ปี เนื่องจากเป็นดินแดนที่อยู่ห่างไกลประกอบกับเกิดกบฏเจ้าอนุเวียงจันทร์และ เกิดกบฏทางหัวเมืองปักษ์ใต้(กลันตัน ไทรบุรี) ไทยจึงห่วงหน้าพะวงหลัง ไม่มีกำลังใจจะยึดครอง หลังจากนั้นพม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เชียงตุงก็เป็นของอังกฤษโดยสิ้นเชิง

ครั้งที่ 5 รัฐเปรัค ให้กับอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2369 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นการสูญเสียที่ทำร้ายจิตใจ คนไทยทั้งชาติ เพราะเป็นการสูญที่ห่างจากครั้งก่อนไม่ถึง 1 ปี

ครั้งที่ 6 สิบสองปันนา ให้กับจีนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2397 พื้นที่ 90,000 ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นดินแดนในยูนานตอนใต้ของประเทศจีน เมืองเชียงรุ้งเป็นเมืองหลวงของไทยสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาเกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันเอง แสนหวีฟ้า มหาอุปราชหนีลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกณฑ์ทัพเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ไปตีเมืองเชียงตุง (ต้องตีเมืองเชียงตุงให้ได้ก่อนจึงจะได้เชียงรุ้ง) แต่ไม่สำเร็จเพราะไม่พร้อมเพรียงกัน  มาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ให้กรมหลวงลวษาธิราชสนิท (ต้นตระกูลสนิทวงศ์) ยกทัพไปตีเชียงตุงเป็นครั้งที่ 2 แต่ไม่สำเร็จจึงต้องเสียให้จีนไป

ครั้งที่ 7 เขมรและเกาะ 6 เกาะ ให้กับฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2410 พื้นที่ 124,000 ตร.กม. ในสมัย ร.4 ฝรั่งเศส บังคับให้เขมรทำสัญญารับความคุ้มครองจากฝรั่งเศส หลังจากนั้นได้ดำเนินการทางการฑูตกับไทย ขอให้มีการปักปันเขตแดนเขมรกับญวน แต่กลับตกลงกันไม่ได้ ขณะนั้นพระปิ่นเกล้า แม่ทัพเรือสวรรคต ไทยจึงอ่อนแอ ฝรั่งเศสจึงฉวยโอกาสบังคับทำสัญญารับรองความอารักขาจากฝรั่งเศสต่อเขมร ในช่วงนี้เอง อังกฤษกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันเมื่อ 15 มกราคม 2438 โดยตกลงกันให้ไทยเป็นรัฐกันชน ประกอบกับ การดำเนินนโยบายของ ร.5 ที่ไปประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง ทำให้อังกฤษ เยอรมัน รัสเซียเห็นใจไทย ฝรังเศสจึงยึดดินแดนไป

ครั้งที่ 8 สิบสองจุไทย (เมืองไล เมืองเชียงค้อ) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ  22 ธันวาคม 2431 พื้นที่ 87,000 ตร.กม. ในสมัย รัชกาลที่ 5 พวกฮ่อ ก่อกบฏ ไทยจัดกำลังไปปราบ 2 กองทัพ แต่ปฏิบัติเป็นอิสระแก่กัน อีกทั้งแม่ทัพทั้งสองไม่ถูกกัน จึงเป็นโอกาสให้ฝรั่งเศสส่งทหารเข้าเมืองไล โดยอ้างว่า มาช่วยไทยปราบฮ่อ แต่หลังจากปราบได้แล้ว ก็ไม่ยอมยกทัพกลับ อีกทั้งไทยก็ไม่ได้จัดกำลังไว้ยึดครองอีกด้วย จนในที่สุด ไทยกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันที่เมืองแถง(เบียนฟู) ยอมให้ฝรั่งเศสรักษาเมืองไลและเมืองเชียงค้อ

ครั้งที่ 9 ฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน ให้กับประเทศอังกฤษในสมัย รัชกาลที่ 5 ในห้วงปี 2433 เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ทางด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจและทรัพยากร อันอุดมด้วยดินแดนผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ยิ่ง

ครั้งที่ 10 ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อาณาจักรล้านช้าง หรือประเทศลาว) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ 3 ตุลาคม 2436 พื้นที่ 143,000 ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นของไทยมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวร ต้องเสียให้กับฝรั่งเศสตามสัญญาไทยกับฝรั่งเศส เท่านั้นยังไม่พอ ฝรั่งเศสเรียกเงินจากไทย 1 ล้านบาท เป็นค่าเสียหายที่ต้องรบกับไทย เสียค่าประกันว่าไทยต้องปฏิบัติตามสัญญาอีก 3 ล้านบาท และยังไม่พอฝรั่งเศสได้ส่งทหารมายึดเมืองจันทบุรีและตราด ไว้ถึง 15 ปี นับว่าเป็นความเจ็บปวดที่สุดของไทยถึงขนาดที่เจ้านายฝ่ายในต้องขายเครื่อง แต่งกายเพื่อนำเงินมาถวาย ร.5  เป็นค่าปรับ ร.5 ต้องนำถุงแดง(เงินพระคลังข้างที่) ออกมาใช้

ครั้งที่ 11 ฝั่งขวาแม่น้ำโขง(ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ดินแดนในทิศตะวันออกของน่าน,จำปาศักดิ์   ,มโนไพร)ให้กับฝรั่งเศสเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2446 พื้นที่ 25,500 ตร.กม. ในสมัย.ร.5ไทยทำสัญญากับฝรั่งเศสเพื่อขอให้ฝรั่งเศสคืนจันทบุรีให้ไทย แต่ฝรั่งเศสถอนไปแต่จันทบุรีแล้วไปยึดเมืองตราดแทนอีก 5 ปี แล้วเมื่อฝรั่งเศสได้หลวงพระบางแล้วยังลุกล้ำบ้านนาดี,ด่านซ้าย จ.เลย และยังได้เอาศิลาจารึกที่พระเจดีย์ศรีสองรักษ์ไปด้วย

ครั้งที่ 12 มลฑลบูรพา(พระตะบอง,เสียมราฐ,ศรีโสภณ) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ 23 2449 พื้นที่ 51,000 ตร.กม. ในสมัย ร.5 ไทยได้ทำสัญญากับฝรังเศส เพื่อแลกกับ ตราด,เกาะกง,ด่านซ้าย ตลอดจนอำนาจศาลไทยที่จะบังคับต่อคนในบังคับของฝรั่งเศสในประเทศไทย เพราะขณะนั้นมีคนจีนญวนไปพึ่งธงฝรั่งเศสกันมากเพื่อสิทธิการค้าขาย ฝรั่งเศสก็เพียงแต่ถอนทหารออกจากตราดเมื่อ 6 กรกฎาคม 2450 กับด่านซ้าย คงเหลือแต่เกาะกงไม่คืนให้ไทย

ครั้งที่ 13 ในสมัยรัชกาลที่ เสียหัวเมืองมลายู 
(รัฐกลันตัน ตรังกานู ปะลิส และไทรบุรี) เมื่อ พ.ศ. 2451 ให้กับอังกฤษ 
จำนวนพื้นที่ 80,000 ตารางกิโลเมตร
เพื่อแลกกับอังกฤษยกเลิกสิทธิภาพนอกอาณาเขต 
และให้ไทยกู้เงินเพื่อสร้างทางรถไฟสายใต้ ปัจจุบันเป็นของมาเลเซีย

ครั้งที่ 14 เขาพระวิหาร ให้กับเขมรเมื่อ 15 มิถุนายน 2505 พื้นที่ 2 ตร.กม. ในสมัย ร.9 ตามคำพิพากษาของศาลโลก ให้เขาพระวิหารตกเป็นของเขมร เนื่องมาจากหลักฐานสำคัญของเขมร   ในสมัยที่เป็นของฝรั่งเศส เมื่อรู้ว่ากรมพระยาดำรงราชานุภาพจะเสด็จเขาพระวิหาร จึงไปก่อนแล้วชักธงชาติฝรั่งเศสรับเสด็จ แล้วจึงถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน จึงนำมาใช้เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงต่อศาลโลก


ขอขอบคุณ www.dek-d.com



การปฏิรูป

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2411 และสืบราชบัลลังก์ต่อโดยเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ วัย 15 ชันษา เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์สยามพระองค์แรกที่ทรงได้รับการศึกษาอย่างตะวันตกมาอย่างสมบูรณ์ ในตอนแรก รัชสมัยของพระองค์ถูกครอบงำโดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งมีแนวคิดอนุรักษนิยม แต่เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ 20 พรรษา พระองค์ก็ทรงเข้าปกครองโดยตรง พระองค์ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และสภาที่ปรึกษาในพระองค์ ระบบศาลและสำนักงบประมาณอย่างเป็นทางการ พระองค์ทรงประกาศว่า ความเป็นทาสจะค่อย ๆ ถูกเลิกไปและจำกัดพันธะหนี้สิน

ช่วงแรก เจ้านายและผู้มีแนวคิดอนุรักษนิยมพระองค์อื่นสามารถขัดขวางวาระการปฏิรูปของพระมหากษัตริย์ได้ แต่เมื่อเจ้านายรุ่นเก่าถูกแทนที่ด้วยเจ้านายรุ่นใหม่และได้รับการศึกษาแบบตะวันตก การขัดขวางก็จางลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพันธมิตรอันทรงพลังในพระอนุชา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ซึ่งพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (กระทรวงการคลังปัจจุบัน) พระองค์แรก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้ทรงจัดระเบียบรัฐบาลภายในและการศึกษา และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เป็นราชเลขานุการฝ่ายต่างประเทศกว่า 38 ปี เมื่อ พ.ศ. 2430 กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการเสด็จเยือนยุโรปเพื่อทรงศึกษาระบบรัฐบาล ในการถวายความเห็น พระมหากษัตริย์ทรงจัดตั้งการปกครองแบบรัฐสภา สำนักงานตรวจสอบบัญชีและกระทรวงธรรมการ (ดูแลการศึกษา) สถานะกึ่งปกครองตนเองของเชียงใหม่สิ้นสุดลง และกองทัพถูกจัดระเบียบใหม่และทำให้ทันสมัย


การสละการอ้างสิทธิเหนือดินแดนของสยามในรัชกาลที่ 5
พ.ศ. 2436 เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสในอินโดจีนใช้ข้อพิพาทพรมแดนเล็กน้อยเพื่อปลุกปั่นวิกฤตการณ์ เรือปืนฝรั่งเศสปรากฏขึ้นที่กรุงเทพมหานคร และเรียกร้องให้โอนดินแดนลาวที่อยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขออังกฤษ แต่นายกรัฐมนตรีอังกฤษกราบทูลพระองค์ให้ระงับด้วยเงื่อนไขใดก็ตามที่พระองค์จะทรงได้รับ และพระองค์ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องยอมทำตาม ท่าทีเดียวของอังกฤษคือ ความตกลงกับฝรั่งเศสรับประกันบูรณภาพของสยามส่วนที่เหลือ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน สยามยอมยกการอ้างสิทธิ์เหนือรัฐฉานทางตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าที่พูดภาษาไท แก่อังกฤษ

อย่างไรก็ดี ฝรั่งเศสยังคงกดดันสยาม และใน พ.ศ. 2449-2450 ก็ได้ก่อวิกฤตการณ์ขึ้นอีกหน หนนี้สยามจำต้องโอนดินแดนทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขงตรงข้ามหลวงพระบางและรอบจำปาศักดิ์ทางตอนใต้ของลาว ตลอดจนกัมพูชาตะวันตก ให้อยู่ในการควบคุมของฝรั่งศส อังกฤษเข้าไกล่เกลี่ยเพื่อกันมิให้ฝรั่งเศสระรานสยามอีก แต่ใน พ.ศ. 2452 สยามจำต้องจ่ายราคาเป็นการยอมรับอธิปไตยของอังกฤษเหนือไทรบุรี กลันตัน ปะลิสและตรังกานูภายใต้สนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452 "ดินแดนที่เสียไป" ทั้งหมดเหล่านี้อยู่ที่ขอบเขตอิทธิพลของสยามและไม่เคยกลับมาอยู่ภายใต้การควบคุมของสยามอย่างรัดกุมอีกเลย แต่ถูกบังคับให้สละการอ้างสิทธิ์ทั้งหมดเหนือดินแดนเหล่านี้เป็นการทำให้พระมหากษัตริย์และประเทศอัปยศ และเป็นรากฐานของการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 วิกฤตการณ์เหล่านี้ถูกรัฐบาลที่เป็นชาตินิยมเพิ่มขึ้นใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งการถือสิทธิ์ของตนต่อตะวันตกและประเทศเพื่อนบ้าน

ขณะเดียวกัน การปฏิรูปดำเนินไปอย่างรวดเร็ว โดยเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชซึ่งอิงความสัมพันธ์ของอำนาจเป็นรัฐชาติรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางสมัยใหม่ ขบวนการดังกล่าวเพิ่มพูนขึ้นภายใต้รัชสมัยพระราชโอรสของพระองค์ ซึ่งล้วนแต่ได้รับการศึกษาในยุโรปทั้งสิ้น ทางรถไฟและสายโทรเลขเชื่อมจังหวัดที่แต่ก่อนเคยห่างไกลและกึ่งปกครองตนเอง สกุลเงินถูกผูกติดกับมาตรฐานทองคำและระบบการจัดเก็บภาษีสมัยใหม่แทนที่การรีดภาษีตามอำเภอใจและราชการแรงงานอย่างในอดีต ปัญหาใหญ่ที่สุดคือ การขาดแคลนข้าราชการที่ผ่านการฝึกฝน และจำต้องจ้างชาวต่างชาติหลายคนกระทั่งสามารถสร้างโรงเรียนใหม่และมีการผลิตบัณฑิตออกมา จนถึง พ.ศ. 2453 หลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว อย่างน้อยสยามได้กลายมาเป็นประเทศกึ่งสมัยใหม่ และยังหนีการปกครองแบบอาณานิคมต่อไป

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/wiki/อาณาจักรรัตนโกสินทร์_%28สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช%29

สนธิสัญญาเบาว์ริง

สนธิสัญญาเบาว์ริง
        หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม (อังกฤษ: Treaty of Friendship and Commerce between the British Empire and the Kingdom of Siam) หรือบนปกสมุดไทย ใช้ชื่อว่า หนังสือสัญญาเซอยอนโบวริงหรือที่มักเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาเบาว์ริง (อังกฤษ: Bowring Treaty) เป็นสนธิสัญญาที่ราชอาณาจักรสยามทำกับสหราชอาณาจักร ลงนามเมื่อ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 โดยเซอร์จอห์น เบาว์ริง ราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย เข้ามาทำสนธิสัญญา ซึ่งมีสาระสำคัญในการเปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศในสยาม มีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ โดยการสร้างระบบการนำเข้าและส่งออกใหม่ เพิ่มเติมจากสนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาฉบับก่อนหน้าซึ่งได้รับการลงนามระหว่างสยามและสหราชอาณาจักรใน พ.ศ. 2369

สนธิสัญญาดังกล่าวอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาทำการค้าเสรีในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากในอดีตการค้าของชาวตะวันตกได้รับการจัดเก็บภาษีอย่างหนักสนธิสัญญาดังกล่าวยังอนุญาตให้จัดตั้งกงสุลอังกฤษในกรุงเทพมหานครและรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ตลอดจนอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถถือครองที่ดินในสยามได้
ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/wiki/สนธิสัญญาเบาว์ริง

กษัตริย์ในราชวงศ์จักรี

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2327 - 2352)


พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2310 - 2367) 

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2367 - 2394)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394 - 2411) 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 - 2453)


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453 - 2468) 

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 - 2477)

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 (พ.ศ. 2477 - 2489) 

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
     พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็น  สมเด็จเจ้าพระ -
ยามหากษัตริย์ศึก
ภายหลังที่ได้ทรงเลิกทัพกลับจากกรุงกัมพูชาเพราะในกรุงธนบุรีเกิดการจลาจล
เมื่อถึงกรุงธนบุรีบรรดาขุนนางน้อยใหญ่ทั้งหลายก็พากันอ่อนน้อมยอมสวามิภักดิ์ เรียกร้องให้แก้ไข
วิกฤติการณ์ พร้อมกันนั้นก็พากันอันเชิญให้พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินไทย
สืบต่อไป เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี (นับเป็นวันเริ่มต้นแห่งราชวงศ์
จักรี ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เป็นวันจักรี เพื่อระลึกถึงวันแห่งการ
สถาปนาราชวงศ์จักรี)

     ภายหลังเมื่อเหตุการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว รัชกาลที่ 1 ทรงเห็นว่าก่อนจะประกอบพิธีปราบดาภิเษก
เป็นกษัตริย์เห็นว่าควรจะย้ายราชธานีไปอยู่ฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเสียก่อน โดยบริเวณที่
ทรงเลือกที่จะสร้างพระราชวังนั้น เคยเป็นสถานีการค้าขายกับชาวต่างประเทศในแผ่นดินสมเด็จพระ-
นารายณ์มหาราช มีนามเดิมว่า “บางกอก” ซึ่งในขณะนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีนเมื่อได้ทรงชดเชย
ค่าเสียหายให้พอสมควรแล้วทรงให้ชาวจีนย้ายไปอยู่ตำบลสำเพ็ง แล้วโปรดเกล้าฯให้สร้างรั้วไม้แทน
กำแพงขึ้นและสร้างพลับพลาไม้ขึ้นชั่วคราว หลังจากนั้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2325 ขณะที่พระองค์
ทรงมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา ได้ทรงประกอบพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีฯ” แต่ในสมัยปัจจุบันผู้คนนิยม
เรียกพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” และทรงสถาปนาตำแหน่ง
วังหน้า (กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) และตำแหน่งวังหลัง (กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข)

     พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงได้รับอัญเชิญขึ้นครองราชย์ในวันที่ 6
เมษายน พ.ศ.2325 แต่ในขณะนั้นยังไม่ได้สร้างพระราชวังใหม่ จึงทรงประทับในพระราชวังเดิมไปก่อน ต่อมาเมื่อก่อสร้างพระบรมมหาราชวังและราชธานีแห่งใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเสร็จ
ในปี พ.ศ.2328 ก็โปรดฯให้มีการสมโภชน์พระนครและกระทำพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์
อีกครั้ง และพระราชทานนามพระนครใหม่นี้ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา 
มหาดิลกภพนพรัตน์ ราชธานีบุรีรมย์อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตาลสถิต สักกทิตติยวิษณุ
กรรมประสิทธิ์” หรือที่คนยุคปัจจุบันนิยมเรียกว่า “กรุงรัตนโกสินทร์” นั่นเอง (ครั้นในสมัยแผ่นดินพระ
บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงเปลี่ยนสร้อยที่ว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมร
รัตนโกสินทร์” นอกนั้นคงเดิม) และในบริเวณพระบรมมหาราชวัง ได้สร้างวัดพระแก้ว (วัดพระศรีรัตน-
ศาสดาราม) เป็นวัดที่ใช้ประกอบพระราชพิธีทางศาสนา เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่และเมื่อสร้าง
พระนครเสร็จสมบูรณ์ได้มีการอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่วัดนี้ และได้พระราชทานนามให้
ใหม่ว่า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เพื่อให้สอดคล้องกับนามของพระนครใหม่
สาเหตุการย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาตั้งที่กรุงรัตนโกสินทร์

  • กรุงธนบุรีเป็นเมืองที่มีการสร้างป้อมปราการเอาไว้ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ โดยเอาแม่น้ำ       
    ผ่ากลาง (เรียกว่าเมืองอกแตก) เหมือนเมืองพิษณุโลกมีประโยชน์ตรงที่อาจเอกเรือรบไว้ใน
    เมืองเมื่อเวลาถูกข้าศึกมาตั้งประชิดแต่การรักษาเมืองคนข้างในจะถ่ายเทกำลังเข้ารบพุ่ง
    รักษาหน้าที่ได้ไม่ทันท่วงทีเพราะต้องข้ามแม่น้ำ แต่แม่น้ำเจ้าพระยาทั้งกว้างและลึกจะทำ
    สะพานข้ามก็ไม่ได้ ทำให้ยากแก่การรักษาพระนครเวลาข้าศึกบุก
  • กรุงธนบุรีอยู่ในท้องคุ้งน้ำ ทำให้น้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย
  • บริเวณพระราชวังเดิมของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชคับแคบ มีวัดขนาบทั้งสองข้าง คือ
    วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) กับวัดท้ายตลาด (วัดโมฬีโลกยาราม) ทำให้ยากแก่การขยายพระราชวังให้กว้างออกไป


เหตุผลของการเลือกทำเลที่ตั้งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
     1. ทางฝั่งกรุงเทพฯเป็นที่ชัยภูมิเหมาะสมเพราะเป็นหัวแหลมถ้าสร้างเมืองแต่เพียง ฟากเดียว จะได้
แม่น้ำใหญ่เป็นคูเมืองทั้งด้านตะวันตกและด้านใต้ เพียงแต่ขุดคลองเป็นคูเมืองแต่ด้านเหนือและด้าน
ตะวันออกเท่านั้น ถึงแม้ว่าข้าศึกจะเข้ามาโจมตีก็พอต่อสู้ได้
     2. เนื่องด้วยทางฝั่งตะวันออกนี้ พื้นที่นอกคูเมืองเดิมเป็นพื้นที่ลุ่มที่เกิดจากการตื้นเขินของทะเล ข้าศึกจะยกทัพมาทางนี้คงทำได้ยาก ฉะนั้นการป้องกันพระนครจะได้มุ่งป้องกันเพียง ฝั่งตะวันตก
แต่เพียงด้านเดียว
     3. ฝั่งตะวันออกเป็นพื้นที่ใหม่ สันนิษฐานว่าชุมชนใหญ่ในขณะนั้นคงจะมีแต่ชาวจีนที่เกาะกลุ่มกัน
อยู่จึงสามารถขยายออกไปได้อย่างกว้างขวาง และขยายเมืองได้เรื่อยๆ



ขอขอบคุณ http://www.thaigoodview.com/

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วิกฤตการณ์สำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์

เหตุการณ์สำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ
      


สงครามเก้าทัพ พ.ศ. 2328

สงครามเก้าทัพเป็นสงครามใหญ่ครั้งแรกภายหลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ได้เพียง 3 ปี ในสงครามนี้ข้าศึกได้ยกกำลังพลประมาณ 144,000 คน เพื่อพิชิตไทยให้ได้ ถ้าเราพ่ายแพ้ก็ยากที่จะฟื้นตัวขึ้นมาได้อีก ดังนั้นสงครามครั้งนี้จึงมีความสำคัญมากต่ออนาคตของเมืองไทย

สงครามเก้าทัพเรียกตามจำนวนกองทัพที่พระเจ้าปะดุง กษัตริย์พม่า จัดแบ่งกำลังทหารเป็น 9 ทัพ เพื่อมาโจมตีไทยโดย ทัพที่ 1 โจมตีทางปักษ์ใต้ ทัพที่ 2 โจมตีเมืองราชบุรีลงไปทางใต้ ทัพที่ 3 โจมตีลำปางและหัวเมืองฝ่ายเหนือลงมา ทัพที่ 4 ถึง ทัพที่ 8 มุ่งโจมตีกรุงเทพฯ โดยยกมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ พระเจ้าปะดุงเป็นแม่ทัพคุมทัพที่ 8 ซึ่งเป็นทัพหลวงมีกำลังมากที่สุดถึง 50,000 คน และทัพที่ 9 โจมตีเมืองตาก กำแพงเพชรลงมา แผนการรบของพระเจ้าปะดุง คือ โจมตีไทยทางเหนือ ทางตะวันตก และทางใต้พร้อมกัน โดยมีเป้าหมายหลักคือ กรุงเทพฯ ให้ทัพที่ 3 และทัพที่ 2 ยกมาบรรจบกับทัพที่ 4 ถึงทัพที่ 8 เพื่อโจมตีกรุงเทพฯ


 การทำสนธิสัญญาเบาว์ริง พ.ศ. 2398

การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2398 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความสำคัญต่อไทย คือ เป็นการเปิดกว้างประเทศไทย ทำให้ไทยเข้าสู่สังคมนานาชาติ มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ทำให้ไทยเริ่มการปรับปรุงประเทศให้เป็นแบบสากล สนธิสัญญาเบาว์ริงก่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจในระยะสั้นๆ แต่ทำให้ไทยถูกจำกัดในเรื่องสิทธิการเก็บภาษีขาเข้า เรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและเรื่องคนในบังคับต่างชาติ

ในสมัยรัตนโกสินทร์ไทยเริ่มทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับชาติตะวันตก คือ อังกฤษในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2369 โดยเป็นสนธิสัญญาที่เท่าเทียมกันไม่มีชาติใดเสียเปรียบต่อกัน ต่อมาใน พ.ศ. 2385 อังกฤษทำสนธิสัญญาหนานจิง (หรือนานกิง)กับจีน อังกฤษได้สิทธิพิเศษในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือคนในบังคับอังกฤษเมื่อทำผิดไม่ต้องขึ้นศาลและถูกลงโทษตามกฎหมายจีน และข้อกำหนดอัตราภาษีขาเข้าที่ต่ำและชัดเจน ซึ่งต่อมากำหนดไว้ที่ร้อยละ 5 อังกฤษจึงต้องการปรับปรุงสนธิสัญญากับไทยให้ทำเหมือนอย่างจีน


 วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112

วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 คือ เหตุการณ์ที่ร้ายแรงจากการที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้อมและเรือรบที่ปากน้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ. 2436 ต่อมาได้ประกาศปิดอ่าวไทย และยื่นข้อเรียกร้องจากไทย ทำให้ไทยยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และเสียค่าปรับถึง 3 ล้านฟรังก์ หรือประมาณ 1,605,000 บาท นับเป็นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงมากในประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่

วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 สืบเนื่องจากการขยายอำนาจของชาติตะวันตกในยุคจักรวรรดินิยมโดยฝรั่งเศสหลังจากได้เวียดนามและเขมรส่วนนอกหรือเขมรด้านตะวันออกแล้ว ก็พยายามที่ยึดครองลาว ซึ่งในเวลานั้นเป็นประเทศราชของไทย เพื่อหวังใช้แม่น้ำโขงที่ไหลผ่านลาวเป็นเส้นทางไปสู่จีนซึ่งเป็นตลาดการค้าที่สำคัญ

วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 เริ่มมีความรุนแรงตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2436 เมื่อฝรั่งเศสส่งกำลังทหารเข้ายึดเมืองเชียงแตง (สตรึงเตร็ง) ทางใต้ของเมืองจำปาศักดิ์ และเมือคำมวน (คำม่วน) ใกล้เมืองนครพนม ซึ่งเป็นของไทย จนมีการสู้รบกัน ระหว่างนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเตรียมการป้องกันประเทศ ทรงเร่งรัดการก่อสร้างป้อมพระจุลจอมเกล้าโดยทรงบริจาคเงิน 10,000 ชั่ง (800,000 บาท ) เป็นค่าใช้จ่ายและซื้ออาวุธสำหรับป้อม เพื่อเป็นการรักษาเอกราชของชาติ ดังที่มีพระราชปณิธานว่า “ถ้าความเป็นเอกราชของกรุงสยามได้สิ้นสุดไปเมื่อใด ชีวิตฉัน (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ก็คงจะสุดสิ้นไปเมื่อนั้น”

   
 ไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

สงครามโลกเกิดขึ้น 2 ครั้ง และไทยก็เกี่ยวข้องทั้ง 2 ครั้ง คือ ในสงครามโลกครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2457 – 2461) ไทยเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในระยะหลังๆ ของสงคราม โดยส่งทหารไปร่วมรบในทวีปยุโรป แต่ยังไม่ทันได้ร่วมรบ สงครามโลกครั้งที่ 1 ก็สงบลง ในสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482 – 2488) มีผลต่อไทยโดยตรงและไทยเกี่ยวข้องตั้งแต่ระยะแรกๆ ของสงครามแม้ว่าไทยจะไม่ใช่สมรภูมิที่สำคัญ แต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ด้านทวีปเอเชียก็มีผลต่อไทยมาก

สงครามโลกครั้งที่ 2 ด้านทวีปเอเชียมีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายชื่อ คือ สงครามแปซิฟิก เพราะเกิดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก สงครามมหาเอเชียบูรพา เพราะญี่ปุ่นมีการตั้งวงไพบูลย์ร่วมมหาเอเชียบูรพา โดยมีการรณรงค์ตามคำขวัญว่า ทวีปเอเชียสำหรับชาวเอเชีย เพื่อขับไล่มหาอำนาจชาติตะวันตอกออกไปจากทวีปเอเชีย

            ขอขอบคุณ https://krujiraporn.wordpress.com

ความสัมพันธ์กับรัฐเพื่อนบ้าน

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

            ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  แบ่งออกเป็น

3 รูปแบบ  คือ

            1. เป็นมิตรไมตรีกันเพื่อประโยชน์ทางด้านการค้า  ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

  เป็นช่วงของการก่อสร้างราชธานีใหม่  จำเป็นต้องหารายได้เพื่อนำมาใช้เป็นการทะนุบำรุง

ประเทศ  จึงส่งเสริมให้มีการค้าขายกับต่างประเทศ  โดยเฉพาะการค้าทางเรือสำเภา ซึ่งส่วนใหญ่

จะค้าขายกับจีน

             2. เป็นประเทศคู่สงครามกัน  ได้แก่พม่าและญวน

            - พม่า  ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการทำสงครามกับพม่า 10 ครั้ง  สงครามครั้ง

สำคัญคือ   สงครามเก้าทัพ  ปีพ.ศ.2528   ซึ่งพระเจ้าปะดุงต้องการแผ่อำนาจครอบคลุมดินแดน

สุวรรณภูมิ  และเป็นการทำลายอาณาจักรไทยไม่ให้เติบโตเป็นอาณาจักรใหญ่อย่างกรุงศรีอยุธยา

ได้อีก 

            พระเจ้าปะดุงจัดทัพมาถึง 9 ทัพ และมีความพร้อมเต็มที่  ส่วนไทยแม้จะมีกำลัง

น้อยกว่าพม่า  แต่อาศัยที่มีผู้นำดีมีความสามารถ  ทหารจึงมีกำลังใจเข้มแข็ง  มีความสามัคคีพร้อม

เพรียง  และประสานงานกันเป็นอย่างดี  กองทัพพม่าจึงแตกพ่ายกลับไป

            ในสงครามครั้งนี้ได้มีวีรสตรีไทยเกิดขึ้น 2 ท่าน  คือ คุณหญิงจันทร์ ภรรยา

พระยาถลาง  และนางมุกน้องสาว  ได้ร่วมมือกับกรมการเมืองถลาง  ป้องกันเมืองอย่างเต็มความ

สามารถ  จนพม่าไม่สามารถตีเมืองถลางได้สำเร็จต้องยกทัพกลับไป  เมื่อเสร็จศึกแล้ว รัชกาลที่ 1

ได้พระราชทานบำเหน็จความชอบ  คุณหญิงจันทร์ได้เป็น ท้าวเทพกระษัตรี  และนางมุกได้เป็น

ท้าวศรีสุนทร

            สงครามระหว่างไทยกับพม่าสิ้นสุดลงในรัชกาลที่ 3  เนื่องจากพม่ามีกรณีพิพาทเรื่อง

พรมแดน กับเขตแดนอินเดียของอังกฤษ  และพอต้นรัชกาลที่ 4 พม่าก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ

            - ญวน  ความขัดแย้งระหว่างไทยกับญวน  ซึ่งเป็นคู่แข่งของไทยในคาบสมุทร

อินโดจีน  คือญวนต้องการเข้าไปมีอิทธิพลในเขมรและลาว  ซึ่งเป็นประเทศราชของไทย  สงคราม

ระหว่างญวนกับไทยยืดเยื้อมานานถึง 24 ปี  จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3  ญวนไปมีปัญหาขัดแย้งกับ

ฝรั่งเศส  ญวนจึงยอมสงบศึกกับไทย  เพื่อเตรียมกำลังไว้สู้รบกับฝรั่งเศสทางเดียว



            3. การดำเนินนโยบายต่อประเทศราช 

            - เขมร   เป็นเมืองขึ้นของไทยมาแต่สมัยอยุธยา  เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี

พ.ศ2310   เขมรก็เอาใจออกห่างจากไทยไปฝักใฝ่ญวน  พระเจ้าตากจึงโปรดให้ยกทัพ

ไปปราบ  จึงได้เขมรกลับมาเป็นประเทศราชของไทย  ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้เกิดเหตุจราจลขึ้น 

 รัชกาลที่ 1 โปรดให้ยกทัพไปจัดการ  และแบ่งเขมรออกเป็น 2 ฝ่าย  คือส่วนหนึ่งให้

เจ้านายเขมรปกครอง  และอีกส่วนหนึ่งให้ขุนนางไทยไปปกครอง  คือเมืองพระตะบองกับเมือง

เสียมราฐ          

            ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2  กษัตริย์เขมรได้ไปฝักใฝ่กับญวน  ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับ

ญวนจึงเสื่อมลงตามลำดับ  จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3  ญวนมีนโยบายเข้าปกครองเขมรโดยตรง  ทำให้

เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทยกับญวน  จนถึงขั้นทำสงครามกันเป็นเวลานานถึง 14 ปีผลของ

สงครามผลัดกันแพ้ชนะ  จนในที่สุดสามารถตกลงยุติสงคราม และ

ร่วมกันปกครองเขมร

            - ลาว   เป็นเมืองขึ้นของไทยมาแต่สมัยกรุงธนบุรี  โดยลาวส่งเครื่องราชบรรณาการมา

ถวายจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ความขัดแย้งระหว่างไทยกับลาว เกิดขึ้นในสมัย

รัชกาลที่ 3 คือได้เกิดข่าวลือไปถึงเวียงจันทน์ว่า  ไทยขัดใจกับอังกฤษ  เจ้าอนุวงศ์

เห็นเป็นโอกาสจึงยกทัพมาตีเอาดินแดนไทย       ขณะที่กองทัพเจ้าอนุวงศ์ถึงเมืองนครราชสีมา

นั้น  ได้เกิดวีรสตรีขึ้น คือคุณหญิงโมภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา  ได้ร่วมกับราษฎรที่ถูกกวาดต้อน

มาได้ออกอุบายเลี้ยงสุราอาหารแก่นายทหารไพร่พลลาว  พอเมาแล้วจึงจู่โจมฆ่าฟันจนทหารลาว

แตกพ่ายไป  เมื่อเสร็จศึกแล้ว  รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯให้เป็น ท้าวสุรนารี      

            - มลายู   หัวเมืองมลายู ได้แก่ ปัตตานี  ไทรบุรี  กลันตัน  และตรังกานู  ต่างเคยเป็น

ประเทศราชของไทยมาแต่สมัยอยุธยา  เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 แล้ว

หัวเมืองเหล่านี้พากันแข็งเมือง  สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงยกทัพไปปราบ  ต่อมาสมัย

รัชกาลที่ 1 หลังเสร็จศึกสงครามเก้าทัพแล้ว  ได้ยกทัพไปตีเมืองปัตตานีใน พ.ศ.2328  ทำให้

บรรดาหัวเมืองมลายูที่เหลือ คือ ไทรบุรี  กลันตัน  และตรังกานู  พากันเกรงกลัว จึงส่งเครื่องราช

บรรณาการมาถวาย

ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น 



            โปรตุเกส เป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย  ส่วนอังกฤษได้เริ่มเข้า

มาติดต่อค้าขายกับไทยในพ.ศ.2364 สมัยรัชกาลที่ 2  โดยอังกฤษได้แต่งตั้งให้จอห์น ครอเฟิต

เป็นทูตเข้ามาเจรจาทางพระราชไมตรี  และเจรจาเรื่องการค้ากับไทย  โดยอังกฤษเจรจาขอให้คน

ในบังคับของอังกฤษติดต่อค้าขายกับคนไทยได้โดยสะดวก  แต่การเจรจาล้มเหลว  ต่อมาอังกฤษ

ได้ส่งร้อยเอกเฮนรี  เบอร์นี  เป็นทูตเข้ามาเจรจากับไทยใน พ.ศ.2368  ตรงกับรัชกาลที่ 3  และได้

มีการตกลงทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรี  และสัญญาทางการค้า  ในวันที่ 20 มิถุนายน

พ.ศ.2369  เรียกว่าสนธิสัญญาเบอร์นี  ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

            1. ไทยกับอังกฤษจะมีไมตรีอันดีต่อกัน

            2. เมื่อเกิดคดีความขึ้นในประเทศไทย  ก็ให้ไทยตัดสินตามกฎหมาย ขนบธรรมเนียม  และ

ประเพณีของไทย

            3. ทั้งสองฝ่ายจะอำนวยความสะดวกในด้านการค้าซึ่งกันและกัน  และอนุญาตให้ฝ่ายตรง

ข้ามเช่าที่ดินเพื่อตั้งโรงสินค้า  ร้านค้า  หรือบ้านเรือนได้

            4. อังกฤษยอมรับว่าดินแดนไทรบุรี  กลันตัน  และตรังกานู  เประ เป็นของไทย

            นอกจากสัญญาทางพระราชไมตรีแล้ว  ยังมีสนธิสัญญาต่อท้ายเป็นสนธิสัญญา

ทางการค้าระหว่างไทยกับอังกฤษ  ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

            1. ห้ามนำฝิ่นเข้ามาขายในไทย  และห้ามนำข้าวสาร ข้าวเปลือก ออกนอก

ประเทศไทย

            2. อาวุธและกระสุนดินดำที่อังกฤษนำมาต้องขายให้แก่รัฐบาลไทยแต่ผู้เดียว  ถ้า

รัฐบาลไทยไม่ต้องการ ต้องนำออกไป

            3. เรือสินค้าที่เข้ามาต้องเสียภาษีเบิกร่อง หรือภาษีปากเรือ

            4. อนุญาตให้พ่อค้าอังกฤษขายสินค้าทั่วราชอาณาจักร

            5. พ่อค้าหรือคนในบังคับอังกฤษ  พูดจาดูหมิ่น หรือไม่เคารพขุนนางไทย  อาจถูกขับไล่

ออกจากประเทศไทยได้ทันที


             หลังจากทำสนธิสัญญากับอังกฤษแล้ว มีสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาขอทำสนธิสัญญากับไทย

บ้างโดยยึดตามแบบของอังกฤษ

            ต่อมาอังกฤษได้ส่งเซอร์ เจมส์ บรูค  เป็นทูตเข้ามาขอแก้ไขสนธิสัญญากับไทยในตอน

ปลายรัชกาลที่ 3  แต่ไม่เป็นผลสำเร็จทำให้อังกฤษไม่พอใจ และอาจใช้กำลังบังคับไทย  พอดี

รัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคต  อังกฤษจึงเปลี่ยนนโยบายใหม่  คือส่งตัวแทนเข้ามาเจรจากับไทย

ขอขอบคุณ chiraporn.igetweb.com

สังคมเเละวัฒนธรรมสมัยรัตนโกสินทร์

สังคมวัฒนธรรมไทย สมัยรัตนโกสินทร์ต้น

สภาพสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น            
     สภาพสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีลักษณะโครงสร้างไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยาและธนบุรี ลักษณะโครงสร้างของสังคมไทยสมัยนี้  มีการแบ่งชนชั้น ถึงแม้จะไม่มีการแบ่งวรรณะอย่างอินเดีย แต่ฐานะความเป็นอยู่ของผู้คนก็แตกต่างกัน

องค์ประกอบของสังคมไทยแบ่งเป็น 4 ชนชั้น
     1. เจ้านาย  ได้แก่ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ พระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะเป็นทั้งเทวราชาและธรรมราชา
   2. ขุนนางและข้าราชการ

  3. ไพร่  เป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก แบ่งเป็น ไพร่หลวง และไพร่สม
4. ทาส   ชนชั้นต่ำสุดในสังคมไทย ไม่มีอิสระในการดำเนินชีวิต ชีวิตขึ้นอยู่กับนายทาส แบ่งเป็น ทาสเชลย  ทาสในเรือนเบี้ย  ทาสสินไถ่  ทาสได้มาแต่บิดามารดา  ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย  ทาสที่ช่วยมาจากทัณฑ์โทษ และทาสท่านให้  ทาสที่ทำความดีความชอบต่อบ้านเมืองสามารถเลื่อนฐานะตนเองสูงขึ้นเป็นขุนนางได้ ส่วนขุนนางที่ทำผิดก็สามารถลดฐานะลงเป็นทาสได้เช่นกัน

ขอขอบคุณ  http://www.qoolive.com/show_blog/

เศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์

ลักษณะทางเศรษฐกิจของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

    เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นใหม่ๆนั้นการค้ากับต่างประเทศมียังไม่มาก
เพราะมีปัญหาภายในและต้องทำสงครามกับพม่า  ภายหลังไทยสามารถเอาชนะพม่าได้อย่างเด็ดขาดในสงครามท่าดินแดง(พ.ศ.2329)
ทำให้มีหลายประเทศเข้ามาทำการค้าด้วย เศรษฐกิจไทยเริ่มดีขึ้น สิ่งที่แสดงให้เห็นว่า 
เศรษฐกิจการค้าในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น 
เจริญรุ่งเรือง คือ การปรับปรุงจัดทำเงินตราขึ้นใหม่ เงินตราที่ใช้ในสมัยนี้ คือ เงินพดด้วง
1.  รายได้จากการค้ากับต่างประเทศ                                                            
     กรุงเทพฯ นับว่าอยู่ในทำเลที่เหมาะสมในการติดต่อค้าขายทางเรือ 
เพราะตั้งอยู่ไม่ไกลจากปากทะเล ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ 
(ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3) 
ซึ่งทรงบังคับบัญชากรมท่า มีบทบาทในการส่งเสริมการค้าโดยเฉพาะกับจีน จนสมเด็จพระบรมชนกนาถ 
ทรงเรียกพระนามว่า "เจ้าสัว"  ต่อมาเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างจริงจัง การค้าขายกับต่างประเทศจึงขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าใน 2 รัชกาลแรก
รายได้จากการค้ากับต่างประเทศที่สำคัญ สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้คือ
(1)  การค้าสำเภาหลวง   พระคลังสินค้า ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐขึ้นอยู่กับพระคลัง 
(พระยาโกษาธิบดี) มีหน้าที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ โดยการแต่งเรือสำเภาหลวงบรรทุกสิ่งของ
ที่เป็นส่วย เช่น ดีบุก พริกไทย ครั่ง ขี้ผึ้ง ไม้หอม ฯลฯ  รวมทั้งสินค้าอื่น ๆ ที่จัดซื้อหาเพิ่มเติมออกไปค้าขายกับจีนและประเทศใกล้เคียง เช่น เขมร ญวน และมลายู แล้วรับซื้อสินค้าต่างประเทศที่ต้องการใช้ภายในประเทศ เช่น ผ้า ถ้วยชาม มาจำหน่ายแก่ประชาชนอีกต่อหนึ่ง ผลกำไรจากการค้าสำเภาหลวงนับเป็นรายได้ที่สำคัญยิ่งของแผ่นดิน
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
     (2)  กำไรจากการผูกขาดสินค้า   พระคลังสินค้ามีหน้าที่ควบคุมการค้ากับต่างประเทศ 
เช่นในสมัยอยุธยา โดยผูกขาดสินค้าบางอย่างซึ่งเป็นสินค้าหายาก ราคาแพง  เช่น รังนก ฝาง ดีบุก 
งาช้าง พริกไทย เนื้อไม้ ตะกั่ว และพลวง  เป็นสินค้าผูกขาดของหลวง  ราษฎรผู้ใดมีสินค้าดังกล่าว 
ให้นำมาขายแก่พระคลังสินค้า เท่านั้น  ห้ามเอกชนซื้อขายกับพ่อค้าต่างชาติโดยตรง  ถ้าชาวต่างประเทศ
ต้องการซื้อสินค้าเหล่านี้ จะต้องซื้อผ่านพระคลังสินค้าซึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง เรียกสินค้าเหล่านี้ว่า 
สินค้าต้องห้าม
     (3)  ภาษีปากเรือ   เป็นค่าธรรมเนียม ซึ่งเก็บจากเรือสินค้าของชาวต่างประเทศที่เข้ามาจอดในเมืองท่าของไทย  กำหนดเก็บภาษีตามส่วนกว้าง
ที่สุดของเรือ      
     (4)  ภาษีสินค้าขาเข้า   เก็บจากสินค้าที่พ่อค้าต่างประเทศนำเข้ามาจำหน่าย เช่น ผ้าฝ้าย  
ผ้าแพรจีน  เครื่องแก้ว  เครื่องลายคราม  ใบชา  อัตราการเก็บไม่แน่นอน  ยืดหยุ่นตามความเหมาะสม  เช่น  เรือของประเทศที่มีสัมพันธไมตรีเข้ามาค้าขายเป็นประจำ จะได้รับสิทธิพิเศษ ในสมัยรัชกาลที่ 2  เรือสินค้าของชาวจีนเสียภาษีสินค้าขาเข้าร้อยละ 4 ถ้าเป็นเรือสินค้าของชาติตะวันตก เสียภาษีร้อยละ 8 
ของราคาสินค้า
     (5)   ภาษีสินค้าขาออก   เก็บจากสินค้าที่ส่งออกในอัตราที่ต่างกันไปตามชนิดของสินค้า  
เช่น  ในสมัยรัชกาลที่ 2 รังนกนางแอ่นกับเขากวางอ่อน  เสียภาษีร้อยละ 20 ของราคาสินค้า  
งาช้างหาบละ 10 สลึง  เกลือเกวียนละ 4 บาท  หนังวัว  หนังควาย  กระดูกช้าง หาบละ 1 บาท
(1)  การค้าสำเภาหลวง   พระคลังสินค้า ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐขึ้นอยู่กับพระคลัง 
(พระยาโกษาธิบดี) มีหน้าที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ โดยการแต่งเรือสำเภาหลวงบรรทุกสิ่งของ
ที่เป็นส่วย เช่น ดีบุก พริกไทย ครั่ง ขี้ผึ้ง ไม้หอม ฯลฯ  รวมทั้งสินค้าอื่น ๆ ที่จัดซื้อหาเพิ่มเติมออกไปค้าขายกับจีนและประเทศใกล้เคียง เช่น เขมร ญวน และมลายู แล้วรับซื้อสินค้าต่างประเทศที่ต้องการใช้ภายในประเทศ เช่น ผ้า ถ้วยชาม มาจำหน่ายแก่ประชาชนอีกต่อหนึ่ง ผลกำไรจากการค้าสำเภาหลวงนับเป็นรายได้ที่สำคัญยิ่งของแผ่นดิน
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
     (2)  กำไรจากการผูกขาดสินค้า   พระคลังสินค้ามีหน้าที่ควบคุมการค้ากับต่างประเทศ 
เช่นในสมัยอยุธยา โดยผูกขาดสินค้าบางอย่างซึ่งเป็นสินค้าหายาก ราคาแพง  เช่น รังนก ฝาง ดีบุก 
งาช้าง พริกไทย เนื้อไม้ ตะกั่ว และพลวง  เป็นสินค้าผูกขาดของหลวง  ราษฎรผู้ใดมีสินค้าดังกล่าว 
ให้นำมาขายแก่พระคลังสินค้า เท่านั้น  ห้ามเอกชนซื้อขายกับพ่อค้าต่างชาติโดยตรง  ถ้าชาวต่างประเทศ
ต้องการซื้อสินค้าเหล่านี้ จะต้องซื้อผ่านพระคลังสินค้าซึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง เรียกสินค้าเหล่านี้ว่า 
สินค้าต้องห้าม
     (3)  ภาษีปากเรือ   เป็นค่าธรรมเนียม ซึ่งเก็บจากเรือสินค้าของชาวต่างประเทศที่เข้ามาจอดในเมืองท่าของไทย  กำหนดเก็บภาษีตามส่วนกว้าง
ที่สุดของเรือ      
     (4)  ภาษีสินค้าขาเข้า   เก็บจากสินค้าที่พ่อค้าต่างประเทศนำเข้ามาจำหน่าย เช่น ผ้าฝ้าย  
ผ้าแพรจีน  เครื่องแก้ว  เครื่องลายคราม  ใบชา  อัตราการเก็บไม่แน่นอน  ยืดหยุ่นตามความเหมาะสม  เช่น  เรือของประเทศที่มีสัมพันธไมตรีเข้ามาค้าขายเป็นประจำ จะได้รับสิทธิพิเศษ ในสมัยรัชกาลที่ 2  เรือสินค้าของชาวจีนเสียภาษีสินค้าขาเข้าร้อยละ 4 ถ้าเป็นเรือสินค้าของชาติตะวันตก เสียภาษีร้อยละ 8 
ของราคาสินค้า
     (5)   ภาษีสินค้าขาออก   เก็บจากสินค้าที่ส่งออกในอัตราที่ต่างกันไปตามชนิดของสินค้า  
เช่น  ในสมัยรัชกาลที่ 2 รังนกนางแอ่นกับเขากวางอ่อน  เสียภาษีร้อยละ 20 ของราคาสินค้า  
งาช้างหาบละ 10 สลึง  เกลือเกวียนละ 4 บาท  หนังวัว  หนังควาย  กระดูกช้าง หาบละ 1 บาท



ขอขอบคุณ http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type2/social03/28/03con01.htm

การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์

การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ ช่วงเวลาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงของการฟื้นฟูบูรณะบ้านเมืองให้กลับสหู่สภาพเดิมเหมือนสมัยอยุธยาก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 ซึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้มีการจัดการปกครองตามแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย ดังนี้
       1.  การปกครองส่วนกลาง(ราชธานี)บริหารราชการแผ่นดินแบบจตุสดมภ์ มี 4 ตำแหน่ง ดังนี้
           -  กรมเวียง(นครบาล) ปกครองดูแลประชาชนในเขตเมืองที่ตนรับผิดชอบปราบปรามโจรผู้ร้าย รักษาความสงบใน
เขตพระนคร
           -  กรมวัง(ธรรมาธิกรณ์)ดูแลความเรียบร้อยและกิจการเกี่ยวกับพระราชสำนัก  พิจารณาคดีต่าง ๆ ที่มีฎีกาขึ้นสู่
องค์พระมหากษัตริย์
           -  กรมคลัง(โกษาธิบดี)ดูแลรายได้ส่วนพระราชาทรัพย์และรายได้แผ่นดิน เช่น เก็บส่วยภาษีอากรค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
           -  กรมนา(เกษตราธิการ)จัดทำนาหลวง ดูแลการทำไร่นาของราษฎร จัดเก็บภาษีเป็นข้าว เรียกว่า เก็บหางข้าวไว้ใช้ในยามศึกสงคราม
        การบริหารราชการแผ่นดินนอกจากมีจตุสดมภ์แล้ว ยังมีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหพระกลาโหม และสมุหนายก  เป็นการแบ่งข้าราชการเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน 
        2.  การปกครองส่วนภูมิภาค(หัวเมืองภายในพระราชอาณาจักร)มีการแบ่งการปกครองหัวเมืองออกเป็ 3 ส่วน เหมือนสมัยอยุธยา
           -  หัวเมืองชสั้นใน เมืองที่อยู่รายรอบราชธานี จัดเป็นเมืองจัตวา มีหัวหน้าปกครองเรียกว่า ผู้รั้งเมืองหรือจ่าเมือง
           -  หัวเมืองชั้นนอก เมืองพระยามหานคร ได้แก่ เมืองซึ่งอยู่ห่างจากราชธานีออกไป คือ หัวเมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี 
ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองหลวง พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์ หรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไปเป็นเจ้าเมืองปกครอง
           -  หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองชายแดนของต่างชาติ ต่างภาษามีฐานะเป็นเมืองประเทศราช เช่น ญวน เขมร  เวียงจันทน์ หลวงพระบาง เป็นต้น สำหรับเจ้าเมืองนั้นได้รับการแต่งตั้งจากเมืองหลวงเรียกว่า เจ้าประเทศราช ซึ่งอาจแต่งตั้งไปจากเมืองหลวงหรือเชื้อพระวงศ์ในหัวเมืองนั้นๆเอง โดยให้สิทธิในการจัดการปกครองภายในแก่เจ้าประเทศราช ยกเว้นหากเกิดความไม่สงบภายในทางเมืองหลวงอาจเข้าแทรกได้
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5)
พระองค์ได้เสด็จประพาสประเทศต่างๆในทวีปเอเชียและยุโรป ได้เห็นความเจริญของประเทศต่างๆซึ่งได้นำมาปฏิรูปการปกครองและการบริหารทุกด้านตั้งแต่การปกครอง การศึกษา กฎหมาย การศาล การสาธารณสุข การคมนาคม เป็นต้น งานที่สำคัญาในลำดับที่พระองค์เริ่มปฏิรูปก่อนงานอื่นๆ คือ งานด้านบริหาร และงานด้านนิติบัญญัติโดยได้ทรงดำเนินการ ดังนี้
               2.1 การปกครองส่วนกลาง
          (1)  จัดตั้งสภาที่รปรึกษาเพื่อเช่วยในการบริหารราชการแผ่นดิน คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์
          (2)  ทรงประกาศเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์ เปลี่ยนการบริหารมาเป็นกระทรงต่างๆเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435  โดยจัดแบ่งอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวงอย่างชัดเจนไม่ซ้ำซ้อนกัน
ปัจจุบันประเทศไทยแบ่งการปกครองส่วนกลางออกเป็น 19 กระทรวง

1.  กลาโหม                 
2.  การคลัง                          
3.  คมนาคม      
4.  ต่างประเทศ                                          
5.  พาณิชย์                          
6.  มหาดไทย       
7.  ศึกษาธิการ                     
8.  สาธารณสุข                      
9.  อุตสาหกรรม
10.  ยุติธรรม                        
11.  วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
12.  เกษตรและสหกรณ์ 
13.  แรงงานและสวัสดิการสังคม
14.  การท่องเที่ยวและกีฬา
15.  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม                                  
16.  วัฒนธรรม
17.  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร                              
18.  พลังงาน
19.  การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

               2.2  การปกครองส่วนภูมิภาค
         มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบหัวเมืองมาเป็นแบบเทศาภิบาล โดยรวมหัวเมืองหลายเมืองเข้ามาเป็นมณฑล แต่ละมณฑลมีสมุหเทศาภืบาลเป็นผู้ปกครอง ซึ่งขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้แต่ละเมืองยังแบ่งเขตการปกครองเป็นอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน

               2.3  การปกครองส่วนท้องถิ่น
         พระองค์ได้ทรงส่งเสริมและทดลองให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยทรงริเริ่มจัดการสุขาภิบาลในเขตกรุงเทพ ฯ และตำบลท่าฉลอม เมืองสมุทรสาคร โดยทรงริเริ่มให้ราษฎรเลือกผู้ใหญ่บ้านเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2435 แล้วให้ผู้ใหญ่บ้านเลือกกำนัน โดยเริ่มที่อำเภอบางปะอิน เมืองพระนครศรีอยุธยา
         จะเห็นได้ว่า การปฏิรูปการปกครองนี้ เป็นการรวมอำนาจการปกครองมาไว้ที่ส่วนกลางอย่างมีระบบ ทำให้พระมหากษัตริย์ไทยมีอำนาจการปกครองประเทศอย่างมาก
         การปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในปัจจุบัน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)  เทศบาล เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร เป็นต้น ซึ่งประชาชนมีสิทธิเลือกผู้บริหารได้โดยตรง นับเป็นประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่นที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก
สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)
พระองค์ทรงมีพระดำริพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน แต่ได้มีกลุ่มผู้มีความคิดก้าวหน้าในนามของ "คณะราษฎร" ซึ่งมีพระยาพหลพยุหเสนา เป็นผู้ได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
     รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475  ป็นอันสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์






ขอขอบคุณ https://sites.google.com/site/smayratnkosinthrtxntn/---7