วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ความสัมพันธ์กับรัฐเพื่อนบ้าน

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

            ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  แบ่งออกเป็น

3 รูปแบบ  คือ

            1. เป็นมิตรไมตรีกันเพื่อประโยชน์ทางด้านการค้า  ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

  เป็นช่วงของการก่อสร้างราชธานีใหม่  จำเป็นต้องหารายได้เพื่อนำมาใช้เป็นการทะนุบำรุง

ประเทศ  จึงส่งเสริมให้มีการค้าขายกับต่างประเทศ  โดยเฉพาะการค้าทางเรือสำเภา ซึ่งส่วนใหญ่

จะค้าขายกับจีน

             2. เป็นประเทศคู่สงครามกัน  ได้แก่พม่าและญวน

            - พม่า  ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการทำสงครามกับพม่า 10 ครั้ง  สงครามครั้ง

สำคัญคือ   สงครามเก้าทัพ  ปีพ.ศ.2528   ซึ่งพระเจ้าปะดุงต้องการแผ่อำนาจครอบคลุมดินแดน

สุวรรณภูมิ  และเป็นการทำลายอาณาจักรไทยไม่ให้เติบโตเป็นอาณาจักรใหญ่อย่างกรุงศรีอยุธยา

ได้อีก 

            พระเจ้าปะดุงจัดทัพมาถึง 9 ทัพ และมีความพร้อมเต็มที่  ส่วนไทยแม้จะมีกำลัง

น้อยกว่าพม่า  แต่อาศัยที่มีผู้นำดีมีความสามารถ  ทหารจึงมีกำลังใจเข้มแข็ง  มีความสามัคคีพร้อม

เพรียง  และประสานงานกันเป็นอย่างดี  กองทัพพม่าจึงแตกพ่ายกลับไป

            ในสงครามครั้งนี้ได้มีวีรสตรีไทยเกิดขึ้น 2 ท่าน  คือ คุณหญิงจันทร์ ภรรยา

พระยาถลาง  และนางมุกน้องสาว  ได้ร่วมมือกับกรมการเมืองถลาง  ป้องกันเมืองอย่างเต็มความ

สามารถ  จนพม่าไม่สามารถตีเมืองถลางได้สำเร็จต้องยกทัพกลับไป  เมื่อเสร็จศึกแล้ว รัชกาลที่ 1

ได้พระราชทานบำเหน็จความชอบ  คุณหญิงจันทร์ได้เป็น ท้าวเทพกระษัตรี  และนางมุกได้เป็น

ท้าวศรีสุนทร

            สงครามระหว่างไทยกับพม่าสิ้นสุดลงในรัชกาลที่ 3  เนื่องจากพม่ามีกรณีพิพาทเรื่อง

พรมแดน กับเขตแดนอินเดียของอังกฤษ  และพอต้นรัชกาลที่ 4 พม่าก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ

            - ญวน  ความขัดแย้งระหว่างไทยกับญวน  ซึ่งเป็นคู่แข่งของไทยในคาบสมุทร

อินโดจีน  คือญวนต้องการเข้าไปมีอิทธิพลในเขมรและลาว  ซึ่งเป็นประเทศราชของไทย  สงคราม

ระหว่างญวนกับไทยยืดเยื้อมานานถึง 24 ปี  จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3  ญวนไปมีปัญหาขัดแย้งกับ

ฝรั่งเศส  ญวนจึงยอมสงบศึกกับไทย  เพื่อเตรียมกำลังไว้สู้รบกับฝรั่งเศสทางเดียว



            3. การดำเนินนโยบายต่อประเทศราช 

            - เขมร   เป็นเมืองขึ้นของไทยมาแต่สมัยอยุธยา  เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี

พ.ศ2310   เขมรก็เอาใจออกห่างจากไทยไปฝักใฝ่ญวน  พระเจ้าตากจึงโปรดให้ยกทัพ

ไปปราบ  จึงได้เขมรกลับมาเป็นประเทศราชของไทย  ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้เกิดเหตุจราจลขึ้น 

 รัชกาลที่ 1 โปรดให้ยกทัพไปจัดการ  และแบ่งเขมรออกเป็น 2 ฝ่าย  คือส่วนหนึ่งให้

เจ้านายเขมรปกครอง  และอีกส่วนหนึ่งให้ขุนนางไทยไปปกครอง  คือเมืองพระตะบองกับเมือง

เสียมราฐ          

            ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2  กษัตริย์เขมรได้ไปฝักใฝ่กับญวน  ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับ

ญวนจึงเสื่อมลงตามลำดับ  จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3  ญวนมีนโยบายเข้าปกครองเขมรโดยตรง  ทำให้

เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทยกับญวน  จนถึงขั้นทำสงครามกันเป็นเวลานานถึง 14 ปีผลของ

สงครามผลัดกันแพ้ชนะ  จนในที่สุดสามารถตกลงยุติสงคราม และ

ร่วมกันปกครองเขมร

            - ลาว   เป็นเมืองขึ้นของไทยมาแต่สมัยกรุงธนบุรี  โดยลาวส่งเครื่องราชบรรณาการมา

ถวายจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ความขัดแย้งระหว่างไทยกับลาว เกิดขึ้นในสมัย

รัชกาลที่ 3 คือได้เกิดข่าวลือไปถึงเวียงจันทน์ว่า  ไทยขัดใจกับอังกฤษ  เจ้าอนุวงศ์

เห็นเป็นโอกาสจึงยกทัพมาตีเอาดินแดนไทย       ขณะที่กองทัพเจ้าอนุวงศ์ถึงเมืองนครราชสีมา

นั้น  ได้เกิดวีรสตรีขึ้น คือคุณหญิงโมภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา  ได้ร่วมกับราษฎรที่ถูกกวาดต้อน

มาได้ออกอุบายเลี้ยงสุราอาหารแก่นายทหารไพร่พลลาว  พอเมาแล้วจึงจู่โจมฆ่าฟันจนทหารลาว

แตกพ่ายไป  เมื่อเสร็จศึกแล้ว  รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯให้เป็น ท้าวสุรนารี      

            - มลายู   หัวเมืองมลายู ได้แก่ ปัตตานี  ไทรบุรี  กลันตัน  และตรังกานู  ต่างเคยเป็น

ประเทศราชของไทยมาแต่สมัยอยุธยา  เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 แล้ว

หัวเมืองเหล่านี้พากันแข็งเมือง  สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงยกทัพไปปราบ  ต่อมาสมัย

รัชกาลที่ 1 หลังเสร็จศึกสงครามเก้าทัพแล้ว  ได้ยกทัพไปตีเมืองปัตตานีใน พ.ศ.2328  ทำให้

บรรดาหัวเมืองมลายูที่เหลือ คือ ไทรบุรี  กลันตัน  และตรังกานู  พากันเกรงกลัว จึงส่งเครื่องราช

บรรณาการมาถวาย

ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น 



            โปรตุเกส เป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย  ส่วนอังกฤษได้เริ่มเข้า

มาติดต่อค้าขายกับไทยในพ.ศ.2364 สมัยรัชกาลที่ 2  โดยอังกฤษได้แต่งตั้งให้จอห์น ครอเฟิต

เป็นทูตเข้ามาเจรจาทางพระราชไมตรี  และเจรจาเรื่องการค้ากับไทย  โดยอังกฤษเจรจาขอให้คน

ในบังคับของอังกฤษติดต่อค้าขายกับคนไทยได้โดยสะดวก  แต่การเจรจาล้มเหลว  ต่อมาอังกฤษ

ได้ส่งร้อยเอกเฮนรี  เบอร์นี  เป็นทูตเข้ามาเจรจากับไทยใน พ.ศ.2368  ตรงกับรัชกาลที่ 3  และได้

มีการตกลงทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรี  และสัญญาทางการค้า  ในวันที่ 20 มิถุนายน

พ.ศ.2369  เรียกว่าสนธิสัญญาเบอร์นี  ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

            1. ไทยกับอังกฤษจะมีไมตรีอันดีต่อกัน

            2. เมื่อเกิดคดีความขึ้นในประเทศไทย  ก็ให้ไทยตัดสินตามกฎหมาย ขนบธรรมเนียม  และ

ประเพณีของไทย

            3. ทั้งสองฝ่ายจะอำนวยความสะดวกในด้านการค้าซึ่งกันและกัน  และอนุญาตให้ฝ่ายตรง

ข้ามเช่าที่ดินเพื่อตั้งโรงสินค้า  ร้านค้า  หรือบ้านเรือนได้

            4. อังกฤษยอมรับว่าดินแดนไทรบุรี  กลันตัน  และตรังกานู  เประ เป็นของไทย

            นอกจากสัญญาทางพระราชไมตรีแล้ว  ยังมีสนธิสัญญาต่อท้ายเป็นสนธิสัญญา

ทางการค้าระหว่างไทยกับอังกฤษ  ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

            1. ห้ามนำฝิ่นเข้ามาขายในไทย  และห้ามนำข้าวสาร ข้าวเปลือก ออกนอก

ประเทศไทย

            2. อาวุธและกระสุนดินดำที่อังกฤษนำมาต้องขายให้แก่รัฐบาลไทยแต่ผู้เดียว  ถ้า

รัฐบาลไทยไม่ต้องการ ต้องนำออกไป

            3. เรือสินค้าที่เข้ามาต้องเสียภาษีเบิกร่อง หรือภาษีปากเรือ

            4. อนุญาตให้พ่อค้าอังกฤษขายสินค้าทั่วราชอาณาจักร

            5. พ่อค้าหรือคนในบังคับอังกฤษ  พูดจาดูหมิ่น หรือไม่เคารพขุนนางไทย  อาจถูกขับไล่

ออกจากประเทศไทยได้ทันที


             หลังจากทำสนธิสัญญากับอังกฤษแล้ว มีสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาขอทำสนธิสัญญากับไทย

บ้างโดยยึดตามแบบของอังกฤษ

            ต่อมาอังกฤษได้ส่งเซอร์ เจมส์ บรูค  เป็นทูตเข้ามาขอแก้ไขสนธิสัญญากับไทยในตอน

ปลายรัชกาลที่ 3  แต่ไม่เป็นผลสำเร็จทำให้อังกฤษไม่พอใจ และอาจใช้กำลังบังคับไทย  พอดี

รัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคต  อังกฤษจึงเปลี่ยนนโยบายใหม่  คือส่งตัวแทนเข้ามาเจรจากับไทย

ขอขอบคุณ chiraporn.igetweb.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น