วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์

ลักษณะทางเศรษฐกิจของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

    เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นใหม่ๆนั้นการค้ากับต่างประเทศมียังไม่มาก
เพราะมีปัญหาภายในและต้องทำสงครามกับพม่า  ภายหลังไทยสามารถเอาชนะพม่าได้อย่างเด็ดขาดในสงครามท่าดินแดง(พ.ศ.2329)
ทำให้มีหลายประเทศเข้ามาทำการค้าด้วย เศรษฐกิจไทยเริ่มดีขึ้น สิ่งที่แสดงให้เห็นว่า 
เศรษฐกิจการค้าในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น 
เจริญรุ่งเรือง คือ การปรับปรุงจัดทำเงินตราขึ้นใหม่ เงินตราที่ใช้ในสมัยนี้ คือ เงินพดด้วง
1.  รายได้จากการค้ากับต่างประเทศ                                                            
     กรุงเทพฯ นับว่าอยู่ในทำเลที่เหมาะสมในการติดต่อค้าขายทางเรือ 
เพราะตั้งอยู่ไม่ไกลจากปากทะเล ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ 
(ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3) 
ซึ่งทรงบังคับบัญชากรมท่า มีบทบาทในการส่งเสริมการค้าโดยเฉพาะกับจีน จนสมเด็จพระบรมชนกนาถ 
ทรงเรียกพระนามว่า "เจ้าสัว"  ต่อมาเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างจริงจัง การค้าขายกับต่างประเทศจึงขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าใน 2 รัชกาลแรก
รายได้จากการค้ากับต่างประเทศที่สำคัญ สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้คือ
(1)  การค้าสำเภาหลวง   พระคลังสินค้า ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐขึ้นอยู่กับพระคลัง 
(พระยาโกษาธิบดี) มีหน้าที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ โดยการแต่งเรือสำเภาหลวงบรรทุกสิ่งของ
ที่เป็นส่วย เช่น ดีบุก พริกไทย ครั่ง ขี้ผึ้ง ไม้หอม ฯลฯ  รวมทั้งสินค้าอื่น ๆ ที่จัดซื้อหาเพิ่มเติมออกไปค้าขายกับจีนและประเทศใกล้เคียง เช่น เขมร ญวน และมลายู แล้วรับซื้อสินค้าต่างประเทศที่ต้องการใช้ภายในประเทศ เช่น ผ้า ถ้วยชาม มาจำหน่ายแก่ประชาชนอีกต่อหนึ่ง ผลกำไรจากการค้าสำเภาหลวงนับเป็นรายได้ที่สำคัญยิ่งของแผ่นดิน
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
     (2)  กำไรจากการผูกขาดสินค้า   พระคลังสินค้ามีหน้าที่ควบคุมการค้ากับต่างประเทศ 
เช่นในสมัยอยุธยา โดยผูกขาดสินค้าบางอย่างซึ่งเป็นสินค้าหายาก ราคาแพง  เช่น รังนก ฝาง ดีบุก 
งาช้าง พริกไทย เนื้อไม้ ตะกั่ว และพลวง  เป็นสินค้าผูกขาดของหลวง  ราษฎรผู้ใดมีสินค้าดังกล่าว 
ให้นำมาขายแก่พระคลังสินค้า เท่านั้น  ห้ามเอกชนซื้อขายกับพ่อค้าต่างชาติโดยตรง  ถ้าชาวต่างประเทศ
ต้องการซื้อสินค้าเหล่านี้ จะต้องซื้อผ่านพระคลังสินค้าซึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง เรียกสินค้าเหล่านี้ว่า 
สินค้าต้องห้าม
     (3)  ภาษีปากเรือ   เป็นค่าธรรมเนียม ซึ่งเก็บจากเรือสินค้าของชาวต่างประเทศที่เข้ามาจอดในเมืองท่าของไทย  กำหนดเก็บภาษีตามส่วนกว้าง
ที่สุดของเรือ      
     (4)  ภาษีสินค้าขาเข้า   เก็บจากสินค้าที่พ่อค้าต่างประเทศนำเข้ามาจำหน่าย เช่น ผ้าฝ้าย  
ผ้าแพรจีน  เครื่องแก้ว  เครื่องลายคราม  ใบชา  อัตราการเก็บไม่แน่นอน  ยืดหยุ่นตามความเหมาะสม  เช่น  เรือของประเทศที่มีสัมพันธไมตรีเข้ามาค้าขายเป็นประจำ จะได้รับสิทธิพิเศษ ในสมัยรัชกาลที่ 2  เรือสินค้าของชาวจีนเสียภาษีสินค้าขาเข้าร้อยละ 4 ถ้าเป็นเรือสินค้าของชาติตะวันตก เสียภาษีร้อยละ 8 
ของราคาสินค้า
     (5)   ภาษีสินค้าขาออก   เก็บจากสินค้าที่ส่งออกในอัตราที่ต่างกันไปตามชนิดของสินค้า  
เช่น  ในสมัยรัชกาลที่ 2 รังนกนางแอ่นกับเขากวางอ่อน  เสียภาษีร้อยละ 20 ของราคาสินค้า  
งาช้างหาบละ 10 สลึง  เกลือเกวียนละ 4 บาท  หนังวัว  หนังควาย  กระดูกช้าง หาบละ 1 บาท
(1)  การค้าสำเภาหลวง   พระคลังสินค้า ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐขึ้นอยู่กับพระคลัง 
(พระยาโกษาธิบดี) มีหน้าที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ โดยการแต่งเรือสำเภาหลวงบรรทุกสิ่งของ
ที่เป็นส่วย เช่น ดีบุก พริกไทย ครั่ง ขี้ผึ้ง ไม้หอม ฯลฯ  รวมทั้งสินค้าอื่น ๆ ที่จัดซื้อหาเพิ่มเติมออกไปค้าขายกับจีนและประเทศใกล้เคียง เช่น เขมร ญวน และมลายู แล้วรับซื้อสินค้าต่างประเทศที่ต้องการใช้ภายในประเทศ เช่น ผ้า ถ้วยชาม มาจำหน่ายแก่ประชาชนอีกต่อหนึ่ง ผลกำไรจากการค้าสำเภาหลวงนับเป็นรายได้ที่สำคัญยิ่งของแผ่นดิน
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
     (2)  กำไรจากการผูกขาดสินค้า   พระคลังสินค้ามีหน้าที่ควบคุมการค้ากับต่างประเทศ 
เช่นในสมัยอยุธยา โดยผูกขาดสินค้าบางอย่างซึ่งเป็นสินค้าหายาก ราคาแพง  เช่น รังนก ฝาง ดีบุก 
งาช้าง พริกไทย เนื้อไม้ ตะกั่ว และพลวง  เป็นสินค้าผูกขาดของหลวง  ราษฎรผู้ใดมีสินค้าดังกล่าว 
ให้นำมาขายแก่พระคลังสินค้า เท่านั้น  ห้ามเอกชนซื้อขายกับพ่อค้าต่างชาติโดยตรง  ถ้าชาวต่างประเทศ
ต้องการซื้อสินค้าเหล่านี้ จะต้องซื้อผ่านพระคลังสินค้าซึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง เรียกสินค้าเหล่านี้ว่า 
สินค้าต้องห้าม
     (3)  ภาษีปากเรือ   เป็นค่าธรรมเนียม ซึ่งเก็บจากเรือสินค้าของชาวต่างประเทศที่เข้ามาจอดในเมืองท่าของไทย  กำหนดเก็บภาษีตามส่วนกว้าง
ที่สุดของเรือ      
     (4)  ภาษีสินค้าขาเข้า   เก็บจากสินค้าที่พ่อค้าต่างประเทศนำเข้ามาจำหน่าย เช่น ผ้าฝ้าย  
ผ้าแพรจีน  เครื่องแก้ว  เครื่องลายคราม  ใบชา  อัตราการเก็บไม่แน่นอน  ยืดหยุ่นตามความเหมาะสม  เช่น  เรือของประเทศที่มีสัมพันธไมตรีเข้ามาค้าขายเป็นประจำ จะได้รับสิทธิพิเศษ ในสมัยรัชกาลที่ 2  เรือสินค้าของชาวจีนเสียภาษีสินค้าขาเข้าร้อยละ 4 ถ้าเป็นเรือสินค้าของชาติตะวันตก เสียภาษีร้อยละ 8 
ของราคาสินค้า
     (5)   ภาษีสินค้าขาออก   เก็บจากสินค้าที่ส่งออกในอัตราที่ต่างกันไปตามชนิดของสินค้า  
เช่น  ในสมัยรัชกาลที่ 2 รังนกนางแอ่นกับเขากวางอ่อน  เสียภาษีร้อยละ 20 ของราคาสินค้า  
งาช้างหาบละ 10 สลึง  เกลือเกวียนละ 4 บาท  หนังวัว  หนังควาย  กระดูกช้าง หาบละ 1 บาท



ขอขอบคุณ http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type2/social03/28/03con01.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น